พระประจำวันเกิดวันอาทิตย์ (ปางถวายเนตร) ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ฯ สร้างพ.ศ. 2493-2494
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
ตุ๊ก รังสิต | |||||||||||||||
โดย
|
tookrangsit | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
รูปหล่อ เหรียญหล่อ | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
พระประจำวันเกิดวันอาทิตย์ (ปางถวายเนตร) ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ฯ สร้างพ.ศ. 2493-2494 |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
พระประจำวันเกิดวันอาทิตย์ (ปางถวายเนตร) ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ฯ สร้างพ.ศ. 2493-2494 รายละเอียดพระ พระประจำวันเกิดชุดนี้ ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) แห่งวัดสุทัศน์ ท่านได้เททองหล่อขึ้น ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๓ - ๒๔๙๔ เนื้อโลหะออกเหลืองอมเขียว ชีวประวัติ : พระมงคลราชมุนี (ท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์ ยติธโร) วัดสุทัศน์ฯ พระมงคลราชมุนี นามเดิม สนธิ์ นามสกุล พงศ์กระวี นามฉายา ยติธโร ชาตะกาลกำเนิด ณ วันศุกร์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๘ ปีเถาะ เบญจศก จุลศักราช ๑๒๖๕ เวลา ๖.๐๐ น. เศษตรงกับวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๔๖ ณ ตำบลบ้านป่าหวาย กิ่งอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โยมผู้ชายชื่อ สุข โยมผู้หญิงชื่อ ทองดี อายุได้ ๑๑ ขวบ โยมผู้หญิงของท่านได้นำท่านมาฝากไว้กับพระภิกษุบุญ (หลวงตาบุญ) ซึ่งเกี่ยวเป็นญาติกับโยมผู้หญิงของท่านที่วัดสุทัศน์เทพวราราม เริ่มเรียนคัมภีร์สนธิ คัมภีร์นาม ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ อายุของท่านได้ ๑๓ ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรพระมงคลราชมุนี (ผึ่ง ปุปฺผโก) เป็นพระฐานานุกรมในพระพรหมมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๕๙ ท่านได้ย้ายไปอยู่ที่วัดกลางบางแก้ว ตำบลบางแก้ว อำเภอนครไชยศรี จังหวัดนครปฐม ในความปกครองของเจ้าคุณพุทธิวิถีนายก (หลวงปู่บุญ) เจ้าคณะจังหวัดนครปฐมในยุคนั้น ตราบจนถึง พ.ศ. ๒๔๖๐ ท่านจึงได้ย้ายกลับมาอยู่ที่วัดสุทัศน์ฯ ตามเดิม ขณะเมื่อท่านเข้าไปกราบลา เจ้าคุณพุทธวิถีนายกเพื่อจะกลับกรุงเทพฯ เห็นจะเป็นเพราะความกรุณาที่ท่านเจ้าคุณพุทธฯมีต่อท่าน เพราะได้เอ่ยปรารภไม่อยากให้ท่านกลับกรุงเทพฯ แต่เมื่อท่านเจ้าคุณพุทธฯ ท่านเห็นว่าไม่สามารถจะขัดขวางหน่วงเหนี่ยวเอาไว้ได้ ก็จำเป็นต้องอนุโลมผ่อนตามพร้อมกับประสาทคำพยากรณ์ให้ไว้ว่า "คนลักษณะอย่างเณร มันต้องเป็นอาจารย์คน" ถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นที่ พระพรหมมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ เสด็จพระอุปัชฌาย์ขนานนามฉายาว่า "ยติธโร" หลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัยตลอดมา พ.ศ. ๒๔๗๔ สอบได้นักธรรมเอกและเปรียญธรรมเอก ๗ ประโยคแล้ว ท่านก็หยุดเข้าสอบประโยคต่อๆไปอีก ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แต่ท่านก็ยังเป็นผู้ใคร่ศึกษาต่อในศาสตร์ต่างๆอีก ขั้นแรกหันเข้าศึกษาค้นคว้าวิชาแพทย์แผนโบราณ พยายามรวบรวมตำราแพทย์เอาไว้ได้เป็นจำนวนมาก พร้อมกันนั้นท่านก็ได้ประกอบยาแก้โรคขึ้นไว้หลายขนาน เพื่อใช้บำบัดโรคภัยไข้เจ็บจากผู้ที่มาขอรับการรักษา โดยมิได้คิดมูลค่าแต่ประการใดเลย ยาที่ท่านประกอบขึ้นแต่ละขนานปรากฏว่ามีสรรคุณใช้บำบัดโรคได้เป็นอย่างดี นอกจากวิชาแพทย์แล้วท่านยังสนใจในวิชาโหราศาสตร์ การคำนวณฤกษ์ยาม เพื่อประกอบพิธีการมงคลต่างๆ ฤกษ์ของท่านที่คำนวณ ให้ไปทุกคราว ปรากฏว่าให้ผลดีแก่เจ้าของงานแทบทุกราย ศาสตร์อีกแขนงหนึ่งที่ท่านเชี่ยวชาญเจนจบเป็นพิเศษ แทบจะหาผู้เสมอเหมือนได้ยากคือ "ไสยศาสตร์" วิทยาการอันลี้ลับที่กล่าวถึงการใช้เวทมนตร์คาถา ท่านสนใจในวิชาประเภทนี้มาก ดูเหมือนว่าเริ่มแต่เป็นสามเณรเมื่อครั้งออกไปอยู่วัดกลางบางแก้ว กับท่านเจ้าคุณพุทธวิถีนายก พร้อมทั้งการค้นคว้าในหลักวิชาเวทมนตร์คาถานี้ ท่านก็ได้เพียรบำเพ็ญอบรมจิตใจของท่านในทางวิปัสสนาธุระควบไปด้วย เรื่องความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน ก็ได้เคยสำแดงออกให้เห็นประจักษ์แก่ตาแก่ใจ ในเหล่าบรรดาศิษยานุศิษย์โดยทั่วกันทุกคน มีเรื่องเล่าว่า.... .........พระยาท่านหนึ่งเดินทางไปทำบุญที่วัดสุทัศน์ฯบ่อยๆ ขณะเดินผ่านกุฏิท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) ได้ถูกสุนัขที่ท่านเจ้าคุณเลี้ยงไว้ เห่า และทำท่าจะกัด พระยาท่านนั้นโกรธแค้นสุนัขตัวนั้นมาก เพราะทุกครั้งที่เดินผ่านต้องถูกเห่า และไล่กัดเสมอ จึงชักปืนที่ติดตัวไป ยิงขู่สุนัขตัวนั้น ท่านเจ้าคุณก็ทราบเรื่องนี้ดี วันหนึ่งพระยาท่านนั้นมานมัสการ และสนทนาธรรมกับท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) ก่อนจะลากลับ ท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) ได้พูดทำนองเชิญชวนให้พระยาท่านนั้นทดลองยิงเศษจีวรที่อยู่บนกุฏิ และผ่านการปลุกเสกจากท่านแล้ว พระยาท่านนั้นเป็นคนจริง ใคร่อยากทดลองความศักดิ์สิทธิ์ของท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) จึงชักปืนออกมายิงเศษจีวรผืนนั้นถึง ๒ นัด.... ปรากฏว่า ปืนยิงไม่ออกสักนัด ท่านพระยาท่านนั้นจึงได้เข้าไปกราบเท้าขอขมาท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) และขอเศษจีวรผืนนั้นนำกลับไปบูชาที่บ้านด้วย....... วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2481 ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ "พระศรีสัจจญาณมุนี" ซึ่งพระราชาคณะตำแหน่งนี้ มิได้เคยแต่งตั้งให้แก่พระเถระรูปใดเลยในยุคกรุงรัตนโกสินทร์นี้ และดูเหมือนว่าจะเคยมีการแต่งตั้งกันบ้างก็แต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเท่านั้น ท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) เป็นพระผู้แตกฉาน ในสรรพวิชาทั้งหลายอย่างแท้จริง ไม่ว่าทางคันถธุระ วิปัสสนาธุระ และพุทธาคม สำหรับวิธีการสร้างพระกริ่ง และพระชัยวัฒน์ ก็ได้รับการถ่ายทอดมาจากเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช แพฯ จนหมดสิ้น จะเห็นได้ว่าท่านดำรงสมณศักดิ์เป็นฐานานุกรม รับใช้ใก้ลชิดของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๘ จนเจ้าพระคุณสมเด็จฯท่านสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๗ นับว่าได้เรียนรู้การสร้างพระกริ่ง และพระชัยวัฒน์ จากองค์พระอาจารย์เป็นเวลาถึง ๑๙ ปี จนแตกฉานเชี่ยวชาญ เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช แพฯ เคยรับสั่งแก่ผู้ใกล้ชิดเสมอว่า “มหาสนธิ์ เขาจะแทนฉัน” แสดงว่า เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช แพฯ ทรงไว้พระทัย และยกย่องให้ท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) เป็นทายาทสืบทอดในการสร้างพระกริ่ง และพระชัยวัฒน์ต่อไป ทุกคราวที่ทหารหาญของประเทศไทยต้องออกไปสู่สมรภูมิ ท่านได้ประกอบพิธีสร้างพระเครื่องรางขึ้นแจกจ่ายแก่บรรดาเหล่าทหาร เพื่อเป็นเครื่องบำรุงขวัญ เริ่มแต่กรณีพิพาทอินโดจีนจนกระทั่งสงครามเกาหลี ท่านได้ประกอบพิธีสร้าง แม้ท่านกำลังอาพาธหนักอยู่ท่านก็ได้พยายามประกอบพิธีสร้างพระเครื่องดังกล่าวนี้ขึ้นจนเป็นผลสำเร็จ และได้ทำการแจกจ่ายให้แก่เหล่าทหารทั้งทัพบกและทัพเรือโดยทั่วถึงกันหมด ท่านเป็นผู้ที่ตรากตรำมาก เบื้องต้นก็ตรากตรำในการศึกษาเล่าเรียนและการงานจนแทบจะไม่มีเวลาพักผ่อนกล่าวคือ นับแต่ท่านเริ่มสอนได้เปรียญธรรม ท่านก็อุทิศเวลาของท่านสอนหนังสือให้แก่พระภิกษุสามเณร สอนกันอย่างเอาจริงเอาจังทีเดียว พอว่างจากการสอน ท่านก็หันมาจับมาจับการเรียนของท่านต่อไปอีก วันหนึ่งจะหาเวลาพักผ่อนได้น้อยเต็มที เหตุนี้เองจึงทำให้สังขารของท่านบอบช้ำมาก และต่อมาภายหลังเมื่อว่างในด้านศึกษาแล้ว ท่านกลับมาเพิ่มภารกิจในหน้าที่ของพระมหาเถราจารย์อีก ได้รับนิมนต์ให้ไปประกอบพิธีกรรมต่างๆ เสมอเป็นเนืองนิตย์ เช่นประกอบพิธีการหล่อพระพุทธรูป ซึ่งเป็นพิธีที่ใหญ่ต้องใช้เวลามาก เริ่มแต่การจารึกพระยันต์ 108 ลงในแผ่นโลหะ ซึ่งกว่าจะแล้วเสร็จก็เป็นการทรมานสังขารมิใช่น้อย มิใช่ว่าจะทำกันเป็นบางครั้งบางคราวหรือนานทีปีหน ท่านต้องปฏิบัติอยู่เช่นนี้แทบว่าจะเป็นประจำทีเดียว แม้บางครั้งบังเกิดอาการอาพาธขึ้น ท่านก็พยายามแข็งขืนกลืนกล้ำกระทำพิธีดังกล่าวจนแล้วเสร็จไม่ยอมรามือ สุขภาพของท่านก็เริ่มเสื่อมโทรมลงทุกที อาการอาพาธเริ่มปรากฏตัวขึ้นทีละน้อยๆ แต่ท่านเป็นผู้ที่กำลังใจเข้มแข็งอย่างเลิศ ไม่หวาดหวั่นพรั่นพรึงต่อมรณภัยที่กำลังคืบคลานเข้ามาเลย แม้จนกระทั่งเมื่อได้ทราบอาการของโรคจากผลการตรวจของนายแพทย์แล้วว่า ท่านกำลังอาพาธด้วยโรค “วัณโรค” เหล่าศิษยานุศิษย์แทบทุกคน ตลอดจนบรรดาผู้ที่ถวายความเคารพนับถือในตัวท่านพยายามช่วยกันอ้อนวอน จัดหานายแพทย์มาถวายการรักษาพยาบาล แต่ท่านก็ยังคงยืนกรานเฉยเมยทำประดุจเป็นทองไม่รู้ร้อน เคยปฏิบัติกิจของท่านอย่างไร ท่านก็ปฏิบัติอยู่เช่นนั้นไม่เปลี่ยนแปลง หยูกยาที่มีผู้จัดหาไปถวายให้ฉัน บางครั้งก็ฉัน บางครั้งก็ไม่ฉัน อันนี้เองเป็นเหตุที่ทำให้อาการอาพาธทวีขึ้นโดยรวดเร็ว จนในท้ายที่สุด เมื่ออาการอาพาธย่างเข้าขีดที่สุดแล้วท่านจึงยอมให้ถวายการรักษาพยาบาล ระยะหลังท่านได้ย้ายจากกุฏิใหญ่ลงมาอยู่กุฏิหัวมุมข้างด้านซ้าย แต่อาการอาพาธของท่านทรุดหนักเพียบลงเสียแล้ว จนสุดที่นายแพทย์จะเยียวยาไหว ในวันคืนวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ตรงกับวันพุธ แรม ๕ ค่ำ เดือนยี่ ยังเป็นปีเถาะตรีศก จุลศักราช ๑๓๑๓เวลา ๒๑.๒๐ น. ท่านก็ได้ถึงแก่มรณภาพลงด้วยอาการอันสงบท่ามกลางความวิปโยคอย่างใหญ่หลวง ของเหล่าศิษยานุศิษย์ทั้งปวง ขอบพระคุณข้อมูลจาก หนังสือ สนามพระ พิเศษ ๒ “ฉบับพระกริ่งเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) วัดสุทัศน์ฯ” |
|||||||||||||||
ราคา
|
- | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
095-589-7915 | |||||||||||||||
ID LINE
|
tookrangsit | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
6,681 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารกสิกรไทย / 732-2-81846-3
|
|||||||||||||||
|